ประกาศสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด
เรื่อง การปรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้
และอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากสหกรณ์
ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ชุดที่
25 สมัยสามัญครั้งที่ 10/2555
เมื่อวันที่ 20 กันยายน
2555 มีมติให้สหกรณ์ฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากและปรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสหกรณ์ฯ
เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวะตลาดการเงินในปัจจุบัน
ประเภทอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ ประกอบด้วย
1.
เงินกู้ประเภทสามัญ พิเศษ จากเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.50.- บาท/ปี อัตราดอกเบี้ยคงเดิม
2.
เงินกู้ประเภทฉุกเฉิน
จากเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.-
บาท/ปี อัตราดอกเบี้ยคงเดิม
ประเภทอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก ประกอบด้วย
1. เงินรับฝากประเภทออมทรัพย์ปกติ จากเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.- บาท/ปี
ปรับลด เป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
1.50 บาท/ปี
2. เงินรับฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษ จากเดิมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 บาท/ปี
ปรับลด เป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
2.50 บาท/ปี
ประกาศ ณ
วันที่ 21 กันยายน
2555
ลงชื่อ
(นายชมภู ลือเลื่อง)
ประธานกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด
ระเบียบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี
จำกัด
ว่าด้วย การให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ พ.ศ.2555
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์
ข้อ 4(2) ข้อ 11ข้อ 12ข้อ 13ข้อ 14ข้อ 15 ข้อ 76(7) และข้อ 105(3) ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสมัยสามัญ
ครั้งที่ 14 /2555 วันที่ 15 พฤศจิกายน
2555ได้กำหนดระเบียบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด ว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี
จำกัด
ว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้
พ.ศ 2555”
ข้อ
2. ระเบียบนี้ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศใช้ระเบียบนี้เป็นต้นไป
ข้อ
3. ให้ยกเลิก “ระเบียบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด
ว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ พ. ศ. 2554” และให้ใช้ระเบียบนี้แทน
หมวด 1
ข้อกำหนดทั่วไป
ข้อ
4. ในระเบียบนี้สหกรณ์ให้เงินกู้แก่สมาชิก
3 ประเภท คือ
(1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
(2) เงินกู้สามัญ
(3) เงินกู้พิเศษ
ข้อ 5. สหกรณ์จะให้เงินกู้ได้เฉพาะแก่ผู้ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์
โดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
ข้อ 6.
การให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้นจะให้ได้เฉพาะกรณีเพื่อการอันจำเป็น
หรือมีประโยชน์ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ เห็นสมควรแต่จะให้เงินกู้เพื่อการสุรุ่ยสุร่าย
หรือการเก็งกำไรไม่ได้
ข้อ 7. ให้คณะกรรมการดำเนินการ
พิจารณาออกข้อกำหนดอื่นๆ เกี่ยวกับ
เงินกู้ฉุกเฉิน เงินกู้สามัญ และเงินกู้พิเศษ ได้ตามที่เห็นสมควร
หมวด 2
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
ข้อ 8. เมื่อสมาชิกมีเหตุฉุกเฉินอันแสดงหลักฐานพิสูจน์ได้
และประสงค์จะขอกู้เงินก็ให้ยื่นคำขอกู้ถึงสหกรณ์ตามแบบที่สหกรณ์ที่กำหนดไว้
ข้อ 9.
คณะกรรมการดำเนินการอาจมอบอำนาจให้ประธานกรรมการ
หรือรองประธานกรรมการหรือเหรัญญิกหรือผู้จัดการตามที่เห็นสมควรเป็นผู้วินิจฉัยให้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินแทนคณะกรรมการเงินกู้ก็ได้
และให้ผู้ได้รับมอบดังกล่าวนั้น แถลงรายการเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินที่ให้ไป
และการส่งชำระคืนต่อการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ในคราวถัดไป
ข้อ 10. เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้
คนหนึ่งๆ นั้น ต้องไม่เกิน 80% ทุนเรือนหุ้นของสมาชิกที่มีอยู่ในสหกรณ์ขณะนั้น
และไม่เกิน 20,000.00 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) สมาชิกคนหนึ่งจะมีหนี้สินต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้
โดยจำนวนต้นเงินรวมกันทั้งหมดเกินกว่าจำกัดที่กล่าวใน ข้อ 15(2) สุดแต่กรณีไม่ได้
ทั้งต้องไม่ขาดการชำระคืนตามสัญญา
ถ้าขาดการชำระคืนจะตัดลดในการขอกู้ครั้งต่อไป
ถ้าสมาชิกรายใดมีเงินกู้สามัญหรือเงินกู้พิเศษอยู่ก่อนแล้ว
หากมีการผิดนัดชำระหนี้ไม่สามารถกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉินได้
หมวด 3
เงินกู้สามัญ
ข้อ
11.
ให้คณะกรรมการดำเนินการ
มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกได้ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
และคณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเงินกู้ขึ้นตามความในข้อบังคับของสหกรณ์
ข้อ 80,81 เพื่อมอบอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา
วินิจฉัยให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกเว้นแต่กรณีรายใด
ที่คณะกรรมการเงินกู้ไม่อาจชี้ขาดได้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการ
เพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ 12. สมาชิกผู้ประสงค์ขอกู้เงินสามัญ
ต้องเสนอคำขอกู้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้
ข้อ
13. จำนวนเงินกู้สามัญที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง
ๆ นั้นย่อมสุดแต่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้พิจารณาเห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกิน 3 เท่า ของเงินค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ในขณะนั้น และต้องไม่เกินสี่แสนบาท
หมวด 4
เงินกู้พิเศษ
ข้อ 14.
ให้คณะกรรมการเงินกู้
มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้พิเศษแก่สมาชิกได้ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
และนำเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการในคราวต่อไป
ข้อ 15.
สมาชิกผู้ประสงค์จะขอกู้เงินพิเศษ
ต้องเสนอคำขอกู้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ และตามประเภทที่สหกรณ์ฯเปิดบริการ
(1) ไม่นำเงินที่ขอกู้พิเศษไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
หากคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้ตรวจสอบทราบว่านำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
จะถูกตัดสิทธิ์ในการขอกู้พิเศษในรอบสามปีบัญชี
(2) ผู้กู้ที่ได้รับ
เงินกู้ฉุกเฉินและเงินกู้สามัญแล้ว จะขอกู้พิเศษได้แต่เมื่อรวมหนี้ทั้งหมด
แล้วต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ข้อ 16. เงินกู้พิเศษ
หมายถึง การให้เงินกู้แก่สมาชิกรายหนึ่งรายใด
ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าหุ้นทั้งหมดของสหกรณ์ในเวลานั้น
ข้อ 17. ในการให้เงินกู้พิเศษนั้น
คณะกรรมการดำเนินการจะพิจารณาวินิจฉัยอนุมัติให้กับสมาชิกรายใดได้ก็ต่อเมื่อ
สหกรณ์มีเงินทุนเหลือจากการให้กู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
และการให้เงินกู้สามัญแล้วเท่านั้น
(1) สมาชิกผู้ขอกู้ต้องระบุความมุ่งหมายแต่ละอย่างของเงินกู้ประเภทนี้
ตลอดจนเงื่อนไข และต้องมีหลักประกันตาม ข้อ 21 (3) วรรคสอง และหรือ วรรคสาม มาถือใช้บังคับโดยสมาชิกผู้ขอกู้ต้องเป็นสมาชิกในสหกรณ์เป็นระยะติดต่อกันไม่น้อยกว่า
3ปี หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด และขอกู้ได้ไม่เกิน
10เท่า
ของเงินค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ในขณะนั้น และไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าหุ้นทั้งหมดของสหกรณ์ฯ
ในเวลานั้นสุดแต่จำนวนไหนจะน้อยกว่าโดยมีอสังหาริมทรัพย์หรือเงินฝากในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี
จำกัด หรือตามที่สหกรณ์กำหนดนำมาค้ำประกัน
ข้อ 18 วงเงินกู้พิเศษ (เงื่อนไขพิเศษ) กู้ได้ร้อยละ 90
ของทุนเรือนหุ้นสมาชิกผู้กู้ และไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าหุ้นทั้งหมดของสหกรณ์ในเวลานั้น
สุดแต่จำนวนไหนจะน้อยกว่า และต้องมีทุนเรือนหุ้นตั้งแต่ 50,000.00 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป
ข้อ 19 การพิจารณาเงินกู้พิเศษ (เงื่อนไขพิเศษ)
มอบหมายให้ประธานกรรมการเงินกู้ หรือผู้จัดการพิจารณาเงินกู้พิเศษ (เงื่อนไขพิเศษ)
เพื่อความสะดวกแก่สมาชิก
และให้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการในคราวถัดไป
หมวด 5
หลักประกันเงินกู้
ข้อ 20. การให้เงินกู้ทุกประเภทนั้น
ผู้กู้ต้องทำหนังสือกู้ให้ไว้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้
ข้อ 21. หลักประกันเงินกู้นั้น
ให้มีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ก. (1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
นอกจากหนังสือกู้ซึ่งผู้กู้ได้ทำไว้ต่อสหกรณ์แล้วก็ไม่ต้องมีหลักประกันอย่างอื่นอีก
(2) เงินกู้สามัญ
ถ้าเงินกู้สามัญรายนั้น มีจำนวนไม่เกินกว่าค่าหุ้นที่ผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์
ก็ไม่ต้องมีหลักประกันอย่างอื่นอีก กรณีขอกู้เกินกว่าค่าหุ้นที่มีอยู่
ต้องมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. มีสมาชิกที่มิได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้
ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นควร
อย่างน้อยหนึ่งคนค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดเพื่อหนี้สินเกี่ยวกับเงินกู้สามัญรายนั้น
ในส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้เพื่อความมั่นคงในการให้เงินกู้สามัญ
คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจวินิจฉัยเรียกให้มีผู้ค้ำประกันมากกว่าหนึ่งคนก็ได้
สมาชิกผู้ค้ำประกันต้องทำหนังสือค้ำประกัน ให้ไว้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนด
2. สมาชิกคนหนึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันสำหรับผู้กู้มากกว่าสองคนในเวลาเดียวกันได้ แต่ไม่เกินทุนเรือนหุ้นของผู้ค้ำประกัน และสมาชิกคนหนึ่งจะมีหนี้สินต่อสหกรณ์ในฐานะผู้ค้ำประกัน
โดยจำนวนต้นเงินรวมกันทั้งหมดเกินกว่าจำกัดที่กล่าวในข้อ 15 (2) ไม่ได้
3. เมื่อผู้ค้ำประกันคนใดตายหรือออกจากสหกรณ์โดยเหตุอื่น
หรือมีเหตุที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าไม่สมควรที่จะเป็นผู้ค้ำประกันต่อไป
ผู้กู้ต้องจัดให้สมาชิกอื่น
ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนคนเดิม
ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
4.
การให้สมาชิกผู้ค้ำประกัน
ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเหตุใดๆ ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากการค้ำประกัน
จนกว่าผู้กู้จะได้จัดให้สมาชิกอื่น
ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทน อนึ่ง ภายหลังการทำหนังสือค้ำประกันแล้ว
ถ้าสมาชิกผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ผู้กู้จะต้องจัดให้มีสมาชิกอื่นที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ในส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้โดยเร็วด้วยให้ผู้กู้ทุกรายต้องทำประกันชีวิตเพื่อค้ำประกันสินเชื่อแบบกลุ่มในส่วนเงินกู้ที่เกินวงเงินคุ้มครองสูงสุดที่
ช.ส.ค.ที่ถือประกาศใช้ในปัจจุบัน
ซึ่งผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันตลอดระยะการกู้
ข. มีอสังหาริมทรัพย์อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่น
จำนองเป็นประกันเต็มจำนวนเงินกู้รายนั้น
โดยต้องเป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการ
หรือคณะกรรมการเงินกู้ว่าจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้
ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น กรณีมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอสังหาริมทรัพย์และนำมาประเมินเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้
ผู้ขอกู้จะต้องจัดทำประกันอัคคีภัย
ภายในวงเงินเท่ากับมูลของสิ่งปลูกสร้างที่นำมาจดทะเบียนจำนอง โดยให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด
เป็นผู้รับผลประโยชน์
ค. มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการฝากเงินในธนาคาร
มีบัญชีเงินฝากในสหกรณ์
ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรให้เป็นประกันโดยจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้
ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของหลักทรัพย์นั้น
(3) เงินกู้พิเศษ
ทุกรายการต้องมีหลักประกันที่เป็นอสังหาริมทรัพย์
มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการฝากเงินในธนาคารหรือบัญชีเงินฝากในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี
จำกัด
หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดให้ผู้กู้ทุกรายต้องทำประกันชีวิตเพื่อค้ำประกันสินเชื่อแบบกลุ่มในส่วนเงินกู้ที่เกินวงเงินคุ้มครองสูงสุดที่
ช.ส.ค.ที่ถือประกาศใช้ในปัจจุบัน
ซึ่งผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันตลอดระยะการกู้
มีอสังหาริมทรัพย์อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่น
จำนองเป็นประกันเต็มจำนวนเงินกู้รายนั้น
โดยต้องเป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการ
หรือคณะกรรมการเงินกู้ว่าจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้
ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น กรณีมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอสังหาริมทรัพย์และนำมาประเมินเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้
ผู้ขอกู้จะต้องจัดทำประกันอัคคีภัย
ภายในวงเงินเท่ากับมูลของสิ่งปลูกสร้างที่นำมาจดทะเบียนจำนอง โดยให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี
จำกัด เป็นผู้รับผลประโยชน์
มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการฝากเงินในธนาคาร
มีบัญชีเงินฝากในสหกรณ์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรให้เป็นประกันโดยจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้
ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของหลักทรัพย์นั้น
(4)
เงินกู้พิเศษ (เงื่อนไขพิเศษ)
ใช้ทุนเรือนหุ้นค้ำประกัน
หมวด 6
เงินงวดชำระหนี้เงินกู้
ข้อ 22. เงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้นั้น
ให้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
(1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินให้ผู้กู้ส่งคืนเงินกู้เต็มจำนวนพร้อมด้วยดอกเบี้ยภายใน
12
เดือน
(2) เงินกู้สามัญให้คณะกรรมการดำเนินการ |